สภาพมองเห็นได้ ของ สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

สืบเนื่องจากสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในทวีปอเมริกาเหนือ องค์กรนักดาราศาสตร์ไร้พรมแดน (Astronomers Without Borders) ได้รวบรวมแว่นสำหรับการสังเกตการณ์อุปราคาเพื่อแจกจ่ายไปยังละตินอเมริกาและเอเชียสำหรับสุริยุปราคาในปี 2562[1]

คราสเต็มดวงเดินทางผ่านในพื้นที่ที่มีความชื้นและมลภาวะทางแสงในระดับต่ำ ซึ่งทำให้เอื้อต่อการสังเกตการณ์อย่างดีเยี่ยม หอดูดาวหลายขนาดใหญ่แห่งอยู่ในแนวคราสเต็มดวง รวมไปถึงหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปด้วย[2][3]

เกาะโออีโน

พื้นผิวแผ่นดินแรกและแห่งเดียวในบรรดาเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกที่สามารถสังเกตคราสเต็มดวงได้ คือ เกาะโออีโน ซึ่งเป็นอะทอลล์ไม่มีคนอยู่อาศัยในหมู่เกาะพิตแคร์น[3]

ชิลี

คราสเต็มดวงส่วนใหญ่สามารถสังเกตเห็นได้ในแคว้นโกกิมโบและส่วนเล็ก ๆ ของแค้วนอาตากามา เมืองในแนวเส้นทางประกอบด้วยลาเซเรนาและลาอีเกรา โดยมีผู้เข้าร่วมชมปรากฏการณ์ในเมืองลาเซเรนาถึงประมาณ 300,000 คน[2] ขณะที่หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปจำหน่ายตั๋วสำหรับเข้าชมสุริยุปราคาในราคา 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน[3]

อาร์เจนตินา

คราสเต็มดวงสามารถมองเห็นได้ในรัฐซานฆวน รัฐลาริโอฆา รัฐซานลุยส์ รัฐกอร์โดบา รัฐซานตาเฟ รัฐบัวโนสไอเรส[3]

ใกล้เคียง

สุริยุปราคา สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 สุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สุริยุปราคา 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 สุริยุปราคา 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สุริยุปราคา 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 สุริยุปราคา 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 สุริยุปราคา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567

แหล่งที่มา

WikiPedia: สุริยุปราคา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEbeselm/SEbeselm2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEcat5/SE2001-2100.ht... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEgoogle/SEgoogle2001... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEplot/SEplot2001/SE2... http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros127.ht... http://www.staff.science.uu.nl/~gent0113/eclipse/e... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //www.worldcat.org/issn/0261-3077 https://www.bbc.com/news/science-environment-48828... https://www.cnet.com/news/total-solar-eclipse-glas...